กลุ่มอาชีพขายบริการในวันที่ไร้ลูกค้าและรัฐค้ำจุน

ผู้มีอาชีพบริการทางเพศในเชียงใหม่ยังยืนรอลูกค้าบนถนนยามค่ำคืน แม้เสี่ยงโควิดหนัก
วิศรุต แสนคำ
2022.03.09
เชียงใหม่
sexworkercnx-1.jpg

ชาลอต อายุ 29 ปี ยืนรอลูกค้าที่จะมาซื้อบริการย่านคูเมืองเชียงใหม่ วันที่ 28 สิงหาคม 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-2.jpg

เชอรี่ บาร์แห่งหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยว ที่ย่านถนนลอยเคราะห์ ในตัวเมืองเชียงใหม่ ปิดเปิดร้านเป็นระยะมาตั้งแต่ปี 2563 จากมาตรการโควิดที่เข้มงวดของรัฐบาล วันที่ 4 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-3.jpg

กลุ่มให้บริการทางเพศ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันในทุก ๆ วันพุธ เพื่อทำแปลงผัก ส่วนหนึ่งเพื่อนำไปบริโภค โดยได้ขอใช้พื้นที่ว่างด้านหลังร้านคาราโอเกะที่ปิดตัวไป วันที่ 19 สิงหาคม 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-4.jpg

สถานที่ท่องเที่ยวกลางคืน ย่านถนนลอยเคราะห์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เคยรุ่งเรืองเต็มไปด้วยแสงสี วันนี้เหลือเพียงแสงสว่างจากหลอดไฟบนถนนและรถพุ่มพวงเท่านั้น วันที่ 8 ธันวาคม 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-5.jpg

ผู้หญิง และ LGBTQ ที่เคยทำงานในบาร์ ต้องมายืนตามท้องถนนบริเวณลอยเคราะห์เพื่อขายบริการ เพราะผับบาร์ที่เคยทำงานอยู่ต้องหยุดดำเนินกิจการตามมาตรการควบคุมโรคระบาดของรัฐบาล วันที่ 3 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-6.jpg

ชาลอต หญิงบริการ ใช้แอปพลิเคชันในมือถือหาลูกค้าด้วยช่องทางออนไลน์ ช่วงที่รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว ขณะนั่งในฟู้ดคอร์ทของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 13 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-7.jpg

เด็กดริ้งค์ในบาร์แห่งหนึ่งย่านถนนลอยเคราะห์ เล่นพูลในชุดสบาย ๆ เพราะแทบจะไม่มีลูกค้ามากพอที่จะต้องแต่งตัวให้สวยงาม วันที่ 3 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-8.jpg

เด็กดริ้งค์ในบาร์แห่งหนึ่งที่ปิดหน้าร้าน ย่านถนนลอยเคราะห์ ซื้อดริ้งค์ให้ตัวเองดื่มเพื่ออุดหนุนให้เจ้าของร้านอยู่รอดได้ด้วย ในช่วงที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ วันที่ 8 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-9.jpg

บาร์แห่งหนึ่งในบริเวณลอยเคราะห์ ต้องปรับตัวมาขายหมูจุ่มเพิ่มเติมเพื่อสร้างรายได้ทดแทนในช่วงโควิด-19 ที่ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ วันที่ 8 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

sexworkercnx-10.jpg

ผู้ให้บริการทางเพศต้องออกมายืนข้างถนนเพื่อหาลูกค้า เพื่อเลี้ยงปากท้อง แม้จะทั้งกลัวโควิดและรัฐออกมาตรการคุมเข้มก็ตาม วันที่ 3 กันยายน 2564 (วิศรุต แสนคำ/เบนาร์นิวส์)

ในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา โรคระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้ที่มีอาชีพบริการทางเพศ ที่นับเป็นแรงงานหนึ่งที่สนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กับชีวิตในวันที่ไร้นักท่องเที่ยว

เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดฮิตสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งไทย จีน และอื่น ๆ แต่เมื่อนักท่องเที่ยวหายไปจึงทำให้เกิดการว่างงานในกลุ่มผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้ที่มีอาชีพบริการทางเพศ (sex worker) ที่เป็นหญิงแท้และกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ ที่ต้องดิ้นรนออกมาหาลูกค้า แม้รู้ว่าต้องเสี่ยงการติดเชื้อ

“หนูไม่สามารถกลับไปอยู่บ้านได้อีกต่อไป เนื่องจากว่าทางบ้านไม่สามารถเลี้ยงดูหนูได้” ชาลอต หญิงสาววัย 29 ปี ที่ยืนรอลูกค้าที่จะมาซื้อบริการย่านคูเมืองเชียงใหม่ กล่าวกับเบนาร์นิวส์

บางคนได้รวมกลุ่มกันปลูกผักเพื่อยังชีพในระหว่างที่มีโรคระบาด โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอ็มเพาเวอร์ (Empower Foundation)

รายได้ของประชากรในจังหวัดเชียงใหม่กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ มาจากการท่องเที่ยว ในขณะที่ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งประเทศ

เมื่อกลางปี 2564 สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ระบุว่า ครึ่งหนึ่งของแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่ราว 4 ล้านคนในขณะนั้น ต้องตกงานเพราะมาตรการคุมเข้มสถานบันเทิงและห้ามการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง