ย้อนภาพเหตุการณ์ปี 2563 ปีที่ไม่เหมือนปีใด

ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2020.12.29
th-yearend-ss0

เจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยทำความสะอาดตู้โดยสารรถไฟ ที่มีชายชาวนราธิวาสเสียชีวิต ที่สถานีรถไฟทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 31 มีนาคม 2563 (เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย)

th-yearend-ss2.jpg

การก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในจีน ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงอย่างมาก เรือนำเที่ยวแม่น้ำโขง จอดเกยตื้นบนดอนที่ผุดขึ้นมากลางแม่น้ำโขง หลังจากเกิดภาวะน้ำโขงลดระดับต่ำผิดปกติ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss3.jpg

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบซากรถยนต์กระบะที่คนร้ายซ่อนระเบิดไว้ก่อนจุดชนวน ที่หน้าสำนักงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา วันที่ 17 มีนาคม 2563 (รอยเตอร์)

th-yearend-ss4.jpg

แรงงานข้ามชาติต่อคิวรับหน้ากากอนามัยจากองค์กรแอลพีเอ็น ที่แคมป์คนงานก่อสร้าง อ.เมือง จ.ปทุมธานี วันที่ 12 เมษายน 2563 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss5.jpg

วิกฤตโควิดทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งขาดรายได้ จำเป็นต้องรับการบริจาคอาหารในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จังหวัดอ่างทอง วันที่ 10 พฤษภาคม 2563 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss6.0

กลุ่มผู้ประท้วงร่วมกันส่องไฟฉายขึ้นบนท้องฟ้าในระหว่างการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในกรุงเทพฯ วันที่ 19 กันยายน 2563 (รอยเตอร์)

th-yearend-ss6.jpg

กลุ่มนักศึกษาและประชาชนหลายหมื่นคนได้ยึดสนามหลวงเป็นพื้นที่ในการแสดงออก เพื่อประท้วงรัฐบาล และเรียกร้องให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งยังเน้นย้ำการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์ ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2563 (เอเอฟพี)

th-yearend-ss7.jpg

กลุ่มนักเรียนประท้วงครั้งแรกเมื่อ 19 สิงหาคม 2563 เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบการศึกษา ถือเป็นอีกหนึ่งองคาพยพที่ได้รับความสนใจจากสังคม และในการเคลื่อนไหวนั้น กลุ่ม “นักเรียนเลว” คือ แนวหน้าที่พยายามผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น หน้ากระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ วันที่ 13 ตุลาคม 2563 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss8.0.jpg

เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการชุมนุมโดยฉีดน้ำผสมสีฟ้า และแก๊สน้ำตา จากรถบรรทุกน้ำ ใส่กลุ่มผู้ประท้วงจนแตกกระเจิง ระหว่างการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ในกรุงเทพฯ 16 ตุลาคม 2563 (รอยเตอร์)

th-yearend-ss8.jpg

กลุ่มผู้ประท้วงในนาม “ราษฎร” นัดรวมตัวกันที่แยกปทุมวัน เพื่อประกาศ 3 ข้อเรียกร้อง เป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสลายการชุมนุมใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารเคมีฉีดใส่ประชาชน ใช้กำลังควบคุมตัวประชาชนเกือบหนึ่งร้อยคนที่ออกมาเรียกร้องในวันนั้น ทำให้คนบางส่วนโกรธแค้น ใช้ขวดน้ำขว้างปา และทุบตีเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการตอบโต้ วันที่ 16 ตุลาคม 2563 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss9.jpg

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระดำเนินไปตามถนนหน้าพระลาน เพื่อเยี่ยมพสกนิกรที่มาเฝ้าฯรับเสด็จฯ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชน หลังจากเสร็จพระราชพิธีทรงบําเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันปิยมหาราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 23 ตุลาคม 2563 (รอยเตอร์)

th-yearend-ss10.jpg

เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาและฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุม “ราษฎร” ไม่ให้เดินทางไปชุมนุมกันที่บริเวณรัฐสภา ขณะที่สมาชิกรัฐสภาอภิปราย ในการรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งฝ่ายราษฎรยังได้ปะทะกับกลุ่มเสื้อเหลืองที่มาสนับสนุนรัฐสภา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 40 ราย ช่วงค่ำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss11.jpg

ผู้ชุมนุมคณะราษฎรสาดสีบนป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรุงเทพฯ ในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เพื่อตอบโต้ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้รถฉีดน้ำและแก๊สน้ำตา สลายการชุมนุมเมื่อวันก่อนหน้า ที่หน้ารัฐสภา (รอยเตอร์)

th-yearend-ss12.jpg

ผู้ประท้วงแบกเป็ดยางเป่าลมไว้กำบังแรงน้ำที่อาจมาจากการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ ในระหว่างการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง ให้นายกรัฐมนตรีลาออก แก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ในกรุงเทพฯ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 (รอยเตอร์)

th-yearend-ss13.jpg

ประชาชนในนาม “เพื่อนวันเฉลิม” รวมตัวที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย ในวันที่ 4 ธันวาคม 2563 เพื่อส่งหนังสือถามความคืบหน้า เนื่องในวันครบรอบ 6 เดือน จากวันที่ 4 มิถุนายน ที่นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองไทยถูกลักพาตัวไป ในกรุงพนมเปญ กัมพูชา (นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์)

th-yearend-ss14.jpg

ผู้ชุมนุมถือป้ายระหว่างการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในกรุงเทพฯ วันที่ 10 ธันวาคม 2563 (รอยเตอร์)

th-yearend-ss15.jpg

แรงงานข้ามชาติยืนใกล้รั้วลวดหนาม ที่เจ้าหน้าที่นำมาใช้ในการปิดและควบคุมการเข้าออกพื้นที่ หน้าตลาดกุ้ง หลังจากพบการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 จังหวัดสมุทรสาคร วันที่ 20 ธันวาคม 2563 (รอยเตอร์)

ปี พ.ศ. 2563 นับเป็นปีที่ไม่เหมือนปีใด ๆ ที่ผ่านมาในห้วงชีวิต เป็นปีแห่งวิกฤตโลก มีความหฤโหดต่อชีวิตของประชาชนไทย จากภัยโรคระบาดโควิดที่เริ่มตั้งแต่ต้นปี ทั้งด้านความขัดแย้งทางการเมือง นำมาซึ่งการชุมนุมประท้วงใหญ่ตลอดปี  

ในเดือนมกราคม 2563 ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในโลก ถัดจากจีน ที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (Covid-19) หลังจากนั้นก็มีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มมาตรฐานการป้องกันโรค โดยการใส่หน้ากากในที่สาธารณะ รวมถึงเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ กระทั่งเดือนมีนาคม 2563 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามคนเข้า-ออกราชอาณาจักร รวมทั้งกำหนดเวลาออกนอกเคหสถาน รวมถึงสั่งปิดร้านค้า และสถานที่สาธารณะ ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งตกงานและขาดรายได้

ทั้งหลายล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อหลาย ๆ ชีวิต ในด้านความเป็นอยู่ การดำรงชีพท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ อาชีพและรายได้ที่ขาดหาย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่รับผลกระทบอย่างหนัก เบนาร์นิวส์ได้รวบรวมภาพเหตุการณ์สำคัญบางส่วน เพื่อสรุปส่งท้ายปี ด้วยความหวังว่า ปีหน้าฟ้าใหม่จะเป็นปีที่ดีของทุกคนทั้งชาวไทยและทั่วโลก

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง