โอกาสคืนสังคม : การแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดซ้ำของประเทศไทย

ประเทศไทยมีอัตราผู้ต้องขังต่อประชากรประเทศ ติดหนึ่งในสิบของโลก
ทีมข่าวเบนาร์นิวส์
2024.09.23
กรุงเทพฯ
โอกาสคืนสังคม : การแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดซ้ำของประเทศไทย นายวรรณวัฒน์ “บอม” หาญรุ่งเรืองกิจ อดีตผู้ต้องขังในคดีค้ายาเสพติดถึงสองครั้ง ขณะทำงานวาดภาพในทาวเฮาส์ที่พัก กรุงเทพฯ วันที่ 6 สิงหาคม 2567
เกริก ประชากุล/เบนาร์นิวส์

บอม เคยมีกำไรจากการขายยาเสพติด ไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาท ต่อสัปดาห์

นั่นคือรายได้ที่ วรรณวัฒน์ หาญรุ่งเรืองกิจ หรือ บอม เคยได้รับจากการค้ายาเสพติด ซึ่งเป็นตัวเลขหลักแสนที่คนไทยส่วนใหญ่ทำได้แค่ฝัน

ในขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยอยู่ที่สัปดาห์ละประมาณ 2,000 บาท

“ผมมีทุกอย่างแล้ว แต่ขาดความสุขในชีวิต จึงต้องเติมเต็มความสุข โดยการขาย (ยา) ให้เยอะขึ้น ใช้เงินซื้อความสุข” บอม อดีตผู้ต้องขังวัย 42 ปี ผู้เคยกระทำผิดซ้ำ จนกระทั่งได้รับโอกาสใหม่ในชีวิต เป็นศิลปินทำงานวาดภาพ เล่าให้เบนาร์นิวส์ฟัง

ในปี 2549 บอม ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำเป็นเวลาหกปี ในข้อหาค้ายาเสพติด และในปี 2559 เขากลับเข้าเรือนจำอีกครั้งเป็นเวลาสี่ปี ในข้อหาเดิม

เรื่องราวของบอม สะท้อนให้เห็นถึงอัตราการก่ออาชญากรรมซ้ำสูงของประเทศไทย และความท้าทายที่ผู้กระทำผิดซ้ำหลายพันรายมักเผชิญ

“ผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำของไทย ประมาณหนึ่งในสาม จะถูกคุมขังซ้ำภายใน 3 ปี” รายงานดังกล่าวระบุในเดือนมีนาคม 2564

ประเทศไทยมีอัตราผู้ต้องขังต่อประชากรประเทศ ติดหนึ่งในสิบของโลก และกว่า 75% ของผู้ต้องขังเป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยอ้างอิงจากรายงานของผู้ต้องขังประจำปี 2567

กำแพงในจิตใจของผู้พ้นโทษเองที่พร้อมในการก้าวข้ามความผิดพลาดในอดีต การที่เขาจะให้โอกาสและกำลังใจตัวเอง บางคนยังรู้สึกว่า ตัวเองเป็นภาระของครอบครัวและสังคมชลธิช ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพ (TIJ) กล่าวกับเบนาร์นิวส์

ชลธิศเชื่อว่า นี่คือสาเหตุที่ประเทศไทยมีอัตราการกระทำความผิดซ้ำสูงมาก โดยในปี 2567 ผู้ต้องขัง 44% เป็นผู้กระทำความผิดซ้ำ

กิ่งกาญจน์ วงค์สุภา หรือ ปอย ในวัย 37 ทำงานขายเครื่องดื่มในโรงอาหารของสถาบันเพื่อการยุติธรรม และด้วยความช่วยเหลือจากโครงการตั้งต้นดี ที่สอนทักษะอาชีพให้กับผู้พ้นโทษ เพื่อลดการกระทำผิดซ้ำ เธอคือ อีกหนึ่งในอดีตผู้ต้องขังที่ได้รับโอกาสที่จะกลับคืนสู่สังคม

“เราขอโอกาสคืนในสังคมบ้าง ทุกคนมีผิดพลาด อยากให้เขามอง และให้โอกาสเรา” ปอย กล่าวกับเบนาร์นิวส์

เหมือนกำแพงเรือนจำ ถ้าเราปลดล็อคกุญแจเรือนจำได้ มันเหมือนกุญแจดอกที่หนึ่ง คือเปิดแล้วให้เขาเดินออกมา แต่กุญแจดอกที่สองซึ่งเป็นกุญแจที่ท้าทายที่สุด คือทำยังไงให้สังคมยอมเปิดประตู แล้วให้คนเหล่านี้กลับไปได้จริง ๆ” ชลธิศ กล่าว "ถ้าเราลดการกระทำผิดซ้ำได้ มันคือ การเพิ่มความปลอดภัยในสังคม"

คำว่าโอกาสของผม ตอนที่อยู่ในเรือนจำ มันไม่มีเลย ผมไม่เคยรู้สึกอะไรกับคำนี้เลย แต่พอวันหนึ่งเราออกมาแล้ว ผมไม่สามารถหันกลับไปแล้วเห็นรอยเท้าตัวเองได้แล้วบอม กล่าวทิ้งท้าย

คำว่าโอกาส มันสำคัญกับผมมาก

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง