50 สส. โลกร้อง UN ให้ปกป้องผู้ต้องขังชาวอุยกูร์ในไทย

กลุ่ม สส. ระบุว่า ชายชาวอุยกูร์อาจเผชิญการถูกกดขี่ข่มเหง หรือที่แย่ยิ่งกว่า หากถูกส่งตัวกลับไปยังจีน
เรดิโอฟรีเอเชีย ภาคภาษาอุยกูร์
2024.11.15
50 สส. โลกร้อง UN ให้ปกป้องผู้ต้องขังชาวอุยกูร์ในไทย สถานกักกันคนต่างด้าว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สวนพลู) ย่านสาทร กรุงเทพมหานคร ที่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนเชื่อว่า กลุ่มอุยกูร์ยังคงถูกควบคุมตัวที่นั่น วันที่ 30 กันยายน 2565
แจ็ค เทย์เลอร์/เอเอฟพี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) มากกว่า 50 คน จากทั่วโลก เรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ (UN) ออกมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ชาวอุยกูร์จำนวน 48 คน ที่ถูกควบคุมตัวในสถานกักกันของไทยมาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ

นับตั้งแต่ปี 2557 ชายชาวอุยกูร์กว่า 40 คน ถูกทางการไทยควบคุมตัวไว้ที่สถานกักกันคนต่างด้าว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ซอยสวนพลู) หลังจากที่พวกเขาพยายามลักลอบเข้าประเทศเพื่อหลบหนีการถูกกดขี่ข่มเหงที่เกิดขึ้นในจีน

ข้อมูลจากทางการไทยและกลุ่มสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ชาวอุยกูร์ที่ถูกกักกันตัวอยู่นี้ คือหนึ่งในกลุ่มผู้อพยพชาวอุยกูร์มากกว่า 500 คน ที่หลบหนีออกจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน โดยพวกเขามุ่งหน้ายังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้อพยพชาวอุยกูร์เหล่านี้หวังว่าจะไปเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ประเทศตุรกี โดยใช้เส้นทางอพยพผ่านประเทศมาเลเซีย แต่มีเพียง 100 คน เท่านั้นที่สามารถดำเนินการตามระเบียบราชการและกระบวนการที่ยุ่งยากได้สำเร็จ

ปลายปี 2556-2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวอุยกูร์ ข้อมูลจากทางการไทยระบุว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยจับกุมชาวอุยกูร์ได้มากกว่า 350 คน และควบคุมตัวพวกเขาไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557

หญิงชาวอุยกูร์อย่างน้อย 172 คน รวมถึงเด็กถูกส่งตัวต่อไปยังประเทศตุรกี ขณะที่ชาวอุยกูร์อีก 109 คน และมากกว่านั้นถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศจีน โดยไม่ทราบชะตากรรม

ส่วนชาวอุยกูร์ที่เหลือถูกทางการไทยควบคุมตัวไว้ที่สถานกักกันในฐานะผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ไม่ใช่ในฐานะผู้ลี้ภัย โดยพวกเขาเหล่านี้มี “สถานภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่” กลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิเตือนว่าผู้อพยพชาวอุยกูร์อาจตกอยู่ในอันตรายหากถูกส่งตัวกลับไปยังจีน และให้ข้อมูลว่าชาวอุยกูร์ที่อยู่ในสถานกักกันไม่สามารถพูดคุยกับคนนอกได้

ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ จึงทำให้ไทยไม่ยอมรับสถานะของผู้ลี้ภัย

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลุ่มพันธมิตรจีนของสมาชิกรัฐสภาข้ามชาติแห่งภูมิภาคยุโรป (Inter-Parliamentary Alliance on China, IPAC) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายฟิลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่ออธิบายสภาพความเป็นอยู่ในสถานกักกันดังกล่าว โดยระบุว่า “มีอันตรายถึงชีวิต” พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้ถูกควบคุมตัวจำนวน 5 คนเสียชีวิตในสถานกักกัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กจำนวน 2 คน

กลุ่ม IPAC ระบุว่าประเทศไทยไม่ได้ให้ความร่วมมือตามหลักการไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัย ชาวอุยกูร์จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกส่งตัวกลับไปยังจีน ซึ่งพวกเขา “มีแนวโน้มสูงที่จะถูกกดขี่ข่มเหง ถูกคุมขังในเรือนจำ หรืออาจเกิดเหตุที่เลวร้ายกว่านั้น”

“สิ่งเหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น” สส. จำนวน 55 คน จากรัฐสภา 26 แห่ง ระบุในจดหมาย

“เราเข้าใจว่าอาจมีรัฐบาลต่างชาติที่พร้อมรับชายชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศ ... เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเหล่านี้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้อพยพชาวอุยกูร์” พวกเขาระบุเพิ่มเติม

ความเสี่ยงจากการยั่วยุจีน

จดหมายเปิดผนึกของ IPAC เกิดขึ้นหลังเดอะนิวยอร์กไทมส์เผยแพร่บทสัมภาษณ์ประสบการณ์ชีวิตของ ฮาซาน อิหม่าม (Hasan Imam) ชายหนุ่มชาวอุยกูร์ที่ถูกควบคุมตัวในสถานกักกันคนต่างด้าวของไทย ซึ่งหลบหนีออกมาได้และดำเนินการย้ายถิ่นฐานไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศตุรกีเมื่อปี 2561

บทความดังกล่าวบรรยายสภาพความเป็นอยู่ของชาวอุยกูร์ในสถานกักกันว่าพวกเขา “ได้รับการปฏิเสธเป็นประจำจากเจ้าหน้าที่ ไม่ให้พบเจอกับผู้มาเยี่ยมเยียน รวมถึงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย” ทั้งยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ถูกจองจำในห้องขังที่แออัดตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ บทความของเดอะนิวยอร์กไทมส์ยังเผยให้เห็นชีวิตของชาวอุยกูร์ที่กลายเป็นหมากในเกมการทูตระหว่างประเทศ การปล่อยตัวชาวอุยกูร์ออกจากสถานกักกันอาจยั่วยุให้จีนโกรธ ซึ่งไทยไม่ต้องการเช่นนั้น เพราะต้องการรักษาความไว้วางใจที่มากยิ่งขึ้นในฐานะคู่ค้าที่มีผลประโยชน์ต่อกัน ขณะเดียวกัน ไทยไม่ต้องการเสียมิตรกับประเทศฝั่งตะวันตก ซึ่งต้องการส่งเสริมมาตรฐานการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่สูงขึ้นให้แก่ประเทศต่าง ๆ

บทความดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าองค์การสหประชาชาตินั้นอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในทำนองเดียวกับไทย เพราะการให้ความช่วยเหลือชาวอุยกูร์ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอาจส่งผลเสียต่อความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีในจีน

เรดิโอฟรีเอเชีย สำนักข่าวร่วมเครือเบนาร์นิวส์ ซึ่งติดตามข่าวผู้อพยพชาวอุยกูร์ ติดต่อไปยัง UNHCR เพื่อขอความเห็นต่อจดหมายเปิดผนึกของ IPAC และได้รับการตอบกลับจากผู้แทนของ UNCHR ว่าทางองค์กร “รู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก” เกี่ยวกับการควบคุมตัวชาวอุยกูร์เป็นระยะเวลานานและขาดมาตรการแก้ปัญหา

ผู้แทนของ UNHCR ระบุว่าทางองค์กรมีการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับทางการไทย โดยมี “ข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่องเพื่อยุติสถานการณ์” แต่ไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เนื่องจาก “ข้อจำกัดด้านข้อมูลซึ่งเป็นความลับ” และ “หลีกเลี่ยงการทำลายความพยายามในการแก้ปัญหาซึ่งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง”

แรงกดดันจากฝั่งตะวันตก

เรดิโอฟรีเอเชียพูดคุยกับ ราฮิมา มาห์มุต (Rahima Mahmut) ผู้อำนวยการโครงการประจำสหราชอาณาจักรขององค์กร World Uyghur Congress โดยมาห์มุตระบุว่าขณะที่องค์กรของเธอเรียกร้องให้ UNHCR ช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์อย่างต่อเนื่อง แต่ “เรายังไม่เห็นผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรม”

มาห์มุตเห็นด้วยกับเหตุผลที่ว่าการควบคุมตัวชาวอุยกูร์ในสถานกักกันในไทยเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าเรื่องกฎหมาย

“แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีความร่วมมือที่ใกล้ชิด แต่เหตุผลที่รัฐบาลไทยไม่ส่งตัวชาวอุยกูร์ให้กับทางการจีนเป็นเพราะแรงกดดันจากหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา” มาห์มุตกล่าว

ถึงแม้มาห์มุตจะรู้สึกขอบคุณที่รัฐบาลไทยไม่ส่งตัวผู้อพยพชาวอุยกูร์ให้กับรัฐบาลจีน แต่เธอเชื่อว่าสถานการณ์ปัจจุบันนั้นเป็นปัญหา

“พวกเขายังคงปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมมากมายมาตลอดหลายปี” เธอกล่าว “การเอาชีวิตรอดในสถานกักกันเหล่านี้เป็นเวลานานต่อไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์”

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) มากกว่า 50 คน จากทั่วโลกเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ (UN) ออกมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ชาวอุยกูร์จำนวน 48 คน ที่ถูกควบคุมตัวในสถานกักกันของไทยมาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ

นับตั้งแต่ปี 2557 ชายชาวอุยกูร์กว่า 40 คน ถูกทางการไทยควบคุมตัวไว้ที่สถานกักกันคนต่างด้าว สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ซอยสวนพลู) หลังจากที่พวกเขาพยายามลักลอบเข้าประเทศเพื่อหลบหนีการถูกกดขี่ข่มเหงที่เกิดขึ้นในจีน

ข้อมูลจากทางการไทยและกลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่าชาวอุยกูร์ที่ถูกกักกันตัวอยู่นี้คือหนึ่งในกลุ่มผู้อพยพชาวอุยกูร์มากกว่า 500 คน ที่หลบหนีออกจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน โดยพวกเขามุ่งมาหน้ายังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้อพยพชาวอุยกูร์เหล่านี้หวังว่าจะไปเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ประเทศตุรกี โดยใช้เส้นทางอพยพผ่านประเทศมาเลเซีย แต่มีเพียง 100 คน เท่านั้นที่สามารถดำเนินการตามระเบียบราชการและกระบวนการที่ยุ่งยากได้สำเร็จ

ปลายปี 2556-2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวอุยกูร์ ข้อมูลจากทางการไทยระบุว่าเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยจับกุมชาวอุยกูร์ได้มากกว่า 350 คน และควบคุมตัวพวกเขาไว้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557

หญิงชาวอุยกูร์อย่างน้อย 172 คน รวมถึงเด็กถูกส่งตัวต่อไปยังประเทศตุรกี ขณะที่ชาวอุยกูร์อีก 109 คน และมากกว่านั้นถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศจีน โดยไม่ทราบชะตากรรม

ส่วนชาวอุยกูร์ที่เหลือถูกทางการไทยควบคุมตัวไว้ที่สถานกักกันในฐานะผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ไม่ใช่ในฐานะผู้ลี้ภัย โดยพวกเขาเหล่านี้มี “สถานภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่” กลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิเตือนว่าผู้อพยพชาวอุยกูร์อาจตกอยู่ในอันตรายหากถูกส่งตัวกลับไปยังจีน และให้ข้อมูลว่าชาวอุยกูร์ที่อยู่ในสถานกักกันไม่สามารถพูดคุยกับคนนอกได้

ประเทศไทยไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาปี ค.ศ.1951 ว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ จึงทำให้ไทยไม่ยอมรับสถานะของผู้ลี้ภัย

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กลุ่มพันธมิตรจีนของสมาชิกรัฐสภาข้ามชาติแห่งภูมิภาคยุโรป (Inter-Parliamentary Alliance on China, IPAC) ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายฟิลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่ออธิบายสภาพความเป็นอยู่ในสถานกักกันดังกล่าว โดยระบุว่า “มีอันตรายถึงชีวิต” พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้ถูกควบคุมตัวจำนวน 5 คน เสียชีวิตในสถานกักกัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กจำนวน 2 คน

กลุ่ม IPAC ระบุว่าประเทศไทยไม่ได้ให้ความร่วมมือตามหลักการไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัย ชาวอุยกูร์จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกส่งตัวกลับไปยังจีน ซึ่งพวกเขา “มีแนวโน้มสูงที่จะถูกกดขี่ข่มเหง ถูกคุมขังในเรือนจำ หรืออาจเกิดเหตุที่เลวร้ายกว่านั้น”

“สิ่งเหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น” สส. จำนวน 55 คน จากรัฐสภา 26 แห่ง ระบุในจดหมาย

“เราเข้าใจว่าอาจมีรัฐบาลต่างชาติที่พร้อมรับชายชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศ... เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเหล่านี้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้อพยพชาวอุยกูร์” พวกเขาระบุเพิ่มเติม

ความเสี่ยงจากการยั่วยุจีน

จดหมายเปิดผนึกของ IPAC เกิดขึ้นหลังเดอะนิวยอร์กไทมส์เผยแพร่บทสัมภาษณ์ประสบการณ์ชีวิตของ ฮาซาน อิหม่าม (Hasan Imam) ชายหนุ่มชาวอุยกูร์ที่ถูกควบคุมตัวในสถานกักกันคนต่างด้าวของไทย ซึ่งหลบหนีออกมาได้และดำเนินการย้ายถิ่นฐานไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศตุรกีเมื่อปี 2561

บทความดังกล่าวบรรยายสภาพความเป็นอยู่ของชาวอุยกูร์ในสถานกักกันว่าพวกเขา “ได้รับการปฏิเสธเป็นประจำจากเจ้าหน้าที่ ไม่ให้พบเจอกับผู้มาเยี่ยมเยียน รวมถึงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย” ทั้งยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ถูกจองจำในห้องขังที่แออัดตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้บทความของเดอะนิวยอร์กไทมส์ ยังเผยให้เห็นชีวิตของชาวอุยกูร์ที่กลายเป็นหมากในเกมการทูตระหว่างประเทศ การปล่อยตัวชาวอุยกูร์ออกจากสถานกักกัน อาจยั่วยุให้จีนโกรธ ซึ่งไทยไม่ต้องการเช่นนั้น เพราะต้องการรักษาความไว้วางใจที่มากยิ่งขึ้นในฐานะคู่ค้าที่มีผลประโยชน์ต่อกัน ขณะเดียวกันไทยไม่ต้องการเสียมิตรกับประเทศฝั่งตะวันตก ซึ่งต้องการส่งเสริมมาตรฐานการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่สูงขึ้นให้แก่ประเทศต่าง ๆ

บทความดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า องค์การสหประชาชาตินั้นอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกในทำนองเดียวกับไทย เพราะการให้ความช่วยเหลือชาวอุยกูร์ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอาจส่งผลเสียต่อความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีในจีน

เรดิโอฟรีเอเชีย สำนักข่าวร่วมเครือเบนาร์นิวส์ ซึ่งติดตามข่าวผู้อพยพชาวอุยกูร์ ติดต่อไปยัง UNHCR เพื่อขอความเห็นต่อจดหมายเปิดผนึกของ IPAC และได้รับการตอบกลับจากผู้แทนของ UNCHR ว่าทางองค์กร “รู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก” เกี่ยวกับการควบคุมตัวชาวอุยกูร์เป็นระยะเวลานานและขาดมาตรการแก้ปัญหา

ผู้แทนของ UNHCR ระบุว่า ทางองค์กรมีการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับทางการไทย โดยมี “ข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่องเพื่อยุติสถานการณ์” แต่ไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เนื่องจาก “ข้อจำกัดด้านข้อมูลซึ่งเป็นความลับ” และ “หลีกเลี่ยงการทำลายความพยายามในการแก้ปัญหาซึ่งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง”

แรงกดดันจากฝั่งตะวันตก

เรดิโอฟรีเอเชียพูดคุยกับ ราฮิมา มาห์มุต (Rahima Mahmut) ผู้อำนวยการโครงการประจำสหราชอาณาจักรของสภาอุยกูร์โลก (World Uyghur Congress) โดย ราฮิมาระบุว่า ขณะที่องค์กรของเธอเรียกร้องให้ UNHCR ช่วยเหลือผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์อย่างต่อเนื่อง แต่ “เรายังไม่เห็นผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรม”

มาห์มุตเห็นด้วยกับเหตุผลที่ว่าการควบคุมตัวชาวอุยกูร์ในสถานกักกันในไทยเป็นเรื่องการเมืองมากกว่าเรื่องกฎหมาย

“แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีความร่วมมือที่ใกล้ชิด แต่เหตุผลที่รัฐบาลไทยไม่ส่งตัวชาวอุยกูร์ให้กับทางการจีน เป็นเพราะแรงกดดันจากหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา” มาห์มุตกล่าว

ถึงแม้มาห์มุตจะรู้สึกขอบคุณที่รัฐบาลไทยไม่ส่งตัวผู้อพยพชาวอุยกูร์ให้กับรัฐบาลจีน แต่เธอเชื่อว่าสถานการณ์ปัจจุบันนั้นเป็นปัญหา

“พวกเขายังคงปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมมากมายมาตลอดหลายปี” เธอกล่าว “การเอาชีวิตให้รอดในสถานกักกันเหล่านี้เป็นเวลานานต่อไปอีกเรื่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์”

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง