ทะเลจะนะกับการคุกคามของโครงการนิคมอุตสาหกรรม

วิศรุต วีระโสภณ
2023.12.07
สงขลา
th-south-livelihood-1.JPG

ในช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ตามริมชายฝั่งมักจะมีชาวประมงออกมาเตรียมตัวเพื่อรอเวลาสำหรับออกเรือ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-3.JPG

ผู้คนส่วนใหญ่ในชุมชนจะนะ นิยมเลี้ยงนกเขาชวาเสียงเพื่อการแข่งขันและยังสร้างรายได้ให้ไม่น้อย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-5.JPG

ชาวบ้านยืนกลางลำเรือ หลังเก็บปลาจากกระชังที่ดักจับปลา ในคลองนาทับ อำเภอจะนะ สงขลา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-6.JPG

ปลาหลากชนิดที่ชาวบ้านดักจับได้ในคลองนาทับ ซึ่งเป็นคลองที่ทอดยาวเชื่อมทางออกสู่ทะเลจะนะ สงขลา วันที่ 22พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-7.JPG

นอกจากทะเลและภูเขาแล้ว จะนะยังมีพื้นที่คลองนาทับ ซึ่งเป็นหนึ่งในคลองที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-8.JPG

ผู้คนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในในพื้นที่ชุมชนริมชายฝั่งอำเภอจะนะ เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม และมักทำการประมงเป็นอาชีพหลัก วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-9.JPG

ชาวบ้านช่วยกันผลักเรือลงทะเล เพื่อเตรียมอวนและออกไปจับปู ซึ่งมีมากในช่วงฤดูมรสุม (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-10.JPG

ชาวบ้านตรวจความเรียบร้อยของเรือก่อนออกทะเล วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-11.JPG

ชาวบ้านช่วยกันตระเตรียมอวนเพื่อออกไปจับปู ซึ่งจะมีมากในช่วงฤดูมรสุม วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

th-south-livelihood-12.JPG

กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารทะเลหลากชนิดที่ชาวบ้านสามารถหามากินกันในครอบครัว เป็นปกติในชึวิตประจำวัน วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 (วิศรุต วีระโสภณ/Thai News Pix/เบนาร์นิวส์)

“ควน ป่า นา เล” เป็นคำขวัญที่สะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่ผู้คนได้ใช้ทรัพยากรจากพื้นที่เหล่านี้ทำมาหากินเลี้ยงชีพกันมานานหลายศตวรรษ แต่ทว่าวิถีชีวิตพื้นฐานที่เรียบง่ายเหล่านี้ ต้องตกอยู่ใต้การคุกคามของโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่อาจจะมีขึ้นในพื้นที่ในอนาคต

ผู้คนที่นี่หล่อเลี้ยงชีวิตตนเองจากทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ด้วยการทำสวน การปลูกข้าว การประมง รวมทั้ง การเลี้ยงนกเขา นกกรงหัวจุ เพื่อการแข่งขันและจำหน่าย

จะนะ มีพื้นที่ติดชายฝั่งกว่า 20 กิโลเมตร เป็นอำเภอหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม และตกอยู่ใต้ความรุนแรงของกลุ่มก่อความไม่สงบบีอาร์เอ็น

ในปี 2559 รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงได้เสนอโครงการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งที่ 4 เป็นส่วนขยายจากเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ที่ครอบคลุมไปถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อที่จะปรับปรุงสถานะทางเศรษฐกิจของพื้นที่ให้ดีขึ้น

รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ได้อนุมัติหลักการก่อสร้างโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะเมื่อ 4 ปีก่อน โดยมี บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ เป็นผู้พัฒนาโครงการขนาด 16,753 ไร่ มูลค่าการลงทุน 18,680 ล้านบาท

ในปี 2559 ผู้บริหาร บมจ. ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ กล่าวว่า จะมีโครงการโรงไฟฟ้า 3,700 MW จากพลังงานก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG), พลังงานลม, พลังแสงอาทิตย์ และจากชีวมวล หรือขยะเทศบาล พร้อมทั้งมีท่าเทียบเรือน้ำลึก, คลังเก็บและขนถ่าย LNG เป็นต้น

ปัจจุบัน โครงการดังกล่าว ยังไม่มีความคืบหน้า เพราะรอการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment - SEA) และตรวจสอบความเหมาะสมของโครงการ

“รัฐบาลยังไม่พูดถึงเรื่องนี้ เพราะอยู่ในระหว่างการทำ เพราะรอการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์” นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวกับเบนาร์นิวส์

แต่เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น และชาวบ้านในพื้นที่ได้ประท้วงรัฐบาลมาเป็นเวลาหลายปี โดยได้แย้งว่า หากมีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขึ้นมา ก็จะส่งผลกระทบต่อชายฝั่ง ทรัพยากรทางทะเล น้ำเสีย และมลพิษทางอากาศ เป็นต้น

ไครียะห์ ระหมันยะ หนึ่งในแกนนำคนรุ่นใหม่ กล่าวว่า ไม่ควรมีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางด้านอาหารและภูมิศาสตร์ เพราะนิคมอุตสาหกรรมจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากร รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่

“โครงการนี้ เป็นโครงการที่ไม่ได้ช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่เติบโตไปกับนโยบายที่เป็นโครงการของรัฐบาล และยังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะโรงงานอุตสหกรรมอาจจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้มีผลกระทบต่อธรรมชาติ” ไครียะห์ กล่าวกับเบนาร์นิวส์

มารียัม อัฮหมัด ในจังหวัดปัตตานี ร่วมรายงาน

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง