การขาดล่ามทำให้สองจำเลยอุยกูร์ รอศาลพิจารณาคดีถึงหกปี

นนทรัฐ ไผ่เจริญ และสุเบล ราย บันดารี
2021.08.17
กรุงเทพฯ และกาฐมาณฑุ
การขาดล่ามทำให้สองจำเลยอุยกูร์ รอศาลพิจารณาคดีถึงหกปี นายอาเด็ม คาราดัก จำเลยที่หนึ่ง ถูกนำตัวมายังศาลทหารกรุงเทพ เพื่อเริ่มการพิจารณาคดีระเบิดศาลท้าวมหาพรหม วันที่ 16 ก.พ. 2559
นนทรัฐ ไผ่เจริญ/เบนาร์นิวส์

ปรับปรุงข้อมูล 10:00 PM EST 21-08-17

หลังจากเกิดเหตุระเบิดที่บริเวณศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ จนมีผู้เสียชีวิตยี่สิบคน เมื่อหกปีก่อน ชาวอุยกูร์สองรายที่ถูกจับกุมและดำเนินคดี ในศาลอาญากรุงเทพใต้ ยังคงรอล่ามที่คาดว่าจะเดินทางจากประเทศจีนถึงเมืองไทยได้ ในเดือนกันยายนนี้ เพื่อเริ่มการพิจารณาคดีอีกครั้ง ทนายความและแหล่งข่าวผู้เกี่ยวข้องกับคดีกล่าวกับเบนาร์นิวส์

ในตอนค่ำของวันที่ 17 สิงหาคม 2558 ตามภาพทีวีวงจรปิด ได้มีคนร้ายใส่เสื้อสีเหลืองวางกระเป๋าที่บรรจุระเบิดหนัก 3 กิโลกรัม ไว้ตรงม้านั่งด้านในบริเวณศาลพระพรหม นอกจากมีผู้เสียชีวิต 20 คน ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบราย โดยกล้องวงจรปิดสามารถจับภาพไว้ได้ และในวันถัดมา ได้เกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิดที่ท่าเรือสาทร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

หลังจากนั้น ในปลายเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่ได้จับกุมตัวนายอาเด็ม คาราดัก หรือ นายบิลาล โมฮัมเหม็ด ที่พูนอนันต์อพาร์ทเม้นต์ ย่านหนองจอก และได้ตกเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีระเบิดทั้งสองแห่ง ส่วนนายไมไรลี ยูซุฟู ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวได้ที่อรัญประเทศ ขณะที่จะเดินทางไปยังประเทศกัมพูชา ในเดือนกันยายน และตกเป็นจำเลยที่

ศาลทหารได้เปิดการพิจารณาคดีจำเลยทั้งสองในครั้งแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งมีบางคนมองว่าเป็นเรื่องทางการเมือง เพราะเป็นช่วงที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังใช้คำสั่งโดยอาศัยอำนาจ พ...ฉุกเฉินฯ หลังจากการรัฐประหารรัฐบาล น.. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อสองปีก่อนหน้านั้น โดยให้นำพลเรือนขึ้นพิจารณาคดีในศาลทหารได้  

อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคม 2562 หลังจากพลเอก ประยุทธ์ ได้รับเลือกกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งใหม่ให้นำคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงและการเมืองขึ้นศาลยุติธรรมเช่นเดิม

นายชูชาติ กันภัย ทนายความของนายอาเด็ม คาราดัก กล่าวแก่เบนาร์นิวส์ว่า จำเลยทั้งสองได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาในชั้นศาลทหาร ก่อนมีการโอนคดีไปยังศาลอาญากรุงเทพใต้ แต่การดำเนินคดีมีความล่าช้า เนื่องจากไม่มีล่ามแปลภาษาอุยกูร์และจีน ที่จำเลยยอมรับมาตั้งแต่ต้น

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศาล (อาญากรุงเทพใต้) แจ้งให้เราทราบว่า ล่ามที่ทางสถานทูตจีนเสนอมานั้น น่าจะเดินทางมาถึงประเทศไทยได้ในเดือนกันยายนนี้ จำเลยไม่เต็มใจยอมรับ แต่ศาลให้ยอมรับการจัดเตรียมล่ามนายชูชาติ กล่าวกับเบนาร์นิวส์ และระบุว่า การนัดพร้อมคดีครั้งใหม่นั้นต้องรอล่ามมาถึงก่อน ซึ่งในชั้นต้นศาลนัดวันที่ 11 ตุลาคม นี้

ในระหว่างการพิจารณาคดีในปี 2559 ฝ่ายจำเลยสามารถหาล่ามที่สามารถพูดภาษาอุยกร์และอังกฤษได้ดี คือ นายซิโรจิดดิน บาโคดิรอฟ หรือ (เซอร์กี) แต่เจ้าตัวถูกจับกุมในย่านสุขุมวิท และถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับยาเสพติดในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน

ทั้งนี้ อัยการทหารฟ้องจำเลยหลายข้อหา ซึ่งข้อหาที่สำคัญประกอบด้วย การร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง และใช้วัตถุระเบิดในการกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่น, ร่วมกันพยายามกระทำให้เกิดระเบิด, ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ร่วมกันกระทำให้เกิดระเบิด จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นต้น โดยมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต

ด้าน นางชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน ซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ชาวอุยกูร์ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2557 ให้ข้อมูลว่า นายอาเด็ม คาราดัก พูดภาษาจีนไม่ได้ และต้องการใช้ล่ามที่พูดภาษาอุยกูร์ ส่วนนายไมไรลี ยูซุฟู เข้าใจภาษาอังกฤษบ้างแต่ไม่ดีพอ และตนเองกังวลต่อการใช้ล่ามจากประเทศจีน

การใช้ล่ามจากประเทศจีนไม่ยุติธรรม เพราะเป็นคู่กรณีกัน เขาอาจจะแปลอย่างไม่เป็นกลาง แปลเข้าข้างจีนก็ได้นางชลิดา กล่าวกับเบนาร์นิวส์ และระบุว่า ทางสภาอุยกูร์โลก (World Uyghur Congress) กำลังพิจารณาส่งทนายความหรือล่ามมาให้ความช่วยเหลือ

ในวันอังคารนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสจากสภาอุยกูร์โลกกล่าวว่า ได้เตรียมส่งล่ามไปยังกรุงเทพฯ เพื่อช่วยเหลือกรณีดังกล่าว

“เราไม่รู้ขั้นตอนในการส่งล่าม เราทราบมาว่า ทางการไทยได้ขอความช่วยเหลือจากสถานทูตจีนในกรุงเทพฯ” เมห์เม็ต ทอห์ที ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร ในออนเทริโอ ประเทศแคนาดา กล่าวกับเบนาร์นิวส์ทางโทรศัพท์

“หากทางการไทยพร้อมที่จะรับ สภาก็พร้อมที่จะส่งล่ามมา เรามีล่ามแปลที่มีประสบการณ์และเราช่วยได้” นายทอห์ทีกล่าว

สำหรับจำเลยชาวอุยกูร์สองคนนี้ ที่ถูกขังในเรือนจำโดยไม่มีการพิจารณาคดีเป็นเวลาหกปี “ได้บอกอะไรบางอย่างกับเรา”

นายทอห์ทีกล่าวอีกว่า การพิจารณาคดี “น่าจะเป็นการพิจารณาคดีทางการเมือง” เพราะรัฐบาลบางประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ถูกกดดันอย่างหนักจากจีน”

เบนาร์นิวส์ ได้ส่งจดหมายขอข้อมูลการจัดเตรียมล่ามโดยสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย แต่ทางศาลอาญากรุงเทพใต้ไม่ได้ชี้แจงในเรื่องนี้

ในการแถลงข่าวสรุปคดีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวถึงแรงจูงใจในการก่อเหตุว่า มาจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยไปทำลาย หรือไปจับกุมขบวนการหรือเครือข่ายการค้ามนุษย์

อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์เชื่อว่า สาเหตุน่าจะมาจากการที่ทางการไทยส่งตัวชาวอุยกูร์ที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายกว่าหนึ่งร้อยคนกลับไปให้ทางการจีน ในเดือนกรกฎาคม 2558  

ทั้งนี้ มาตรการที่รัฐบาลไทยมีต่อชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในเขตปกครองพิเศษซินเจียง ประเทศจีน และมักถูกทางการจีนกดขี่ห่มเหง ถูกตำหนิโดยนานาชาติ

210817-TH-SECURITY-BLAST.JPG

ประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติร่วมสักการะศาลท้าวมหาพรหม เนื่องในวันครบรอบ 1 ปี หลังเหตุระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณ ใจกลาง กรุงเทพฯ วันที่ 17 ส.ค. 2559 (รอยเตอร์)

จำเลยมีกำลังใจดี

ในการขึ้นศาลครั้งแรก นายอาเด็ม คาราดัก ให้การต่อศาลว่า ตนเกิดวันที่ 29 มกราคม 1985 อายุ 31 ปี อาชีพ คนขับรถรับจ้าง ส่วนนายไมไรลี ยูซุฟู ให้การว่า ตนเกิดวันเมื่อที่ 1 ตุลาคม 1989 อายุ 27 ปี ยังเป็นนักศึกษา ทั้งสองเป็นคนเชื้อสายอุยกูร์ สัญชาติจีน มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองอุรุมชี เขตปกครองพิเศษซินเจียง อุยกูร์ (XUAR) ในประเทศจีน

ทั้งสองปฏิเสธข้อหา ในปี 2559 ต่อหน้าผู้พิพากษาที่ศาลทหาร และอีกครั้งที่ศาลพลเรือนเมื่อปีที่แล้ว โดยครั้งสุดท้ายทั้งสองปรากฏตัวในศาล เมื่อเดือนมกราคม ปี 2563

นางชลิดา ระบุว่า หลังจากนั้นการดำเนินคดีได้สะดุดลงอย่างน้อยสองครั้ง เพราะปัญหาเรื่องล่ามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ตนรู้สึกกังวลกับการที่จำเลยถูกฝากขังอย่างยาวนาน

เขาถูกขังในคุกที่อยู่ในการดูแลของทหาร เพราะเป็นคดีความมั่นคงสูงสุดมาอย่างยาวนาน เอ็นจีโอก็เข้าเยี่ยมไม่ได้ ยกเว้นทนาย มันไม่ยุติธรรม เขายังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่นางชลิดากล่าว

ส่วนทนายความชูชาติ กล่าวว่า เมื่อเดือนรอมฎอน 2564 ตนได้ไปเยี่ยมจำเลยทั้งคู่ ที่เรือนจำหลักสี่ ซึ่งใช้ฝากขังจำเลยที่ถูกโอนมาจากเรือนจำ มทบ. 11 พบว่า จำเลยทั้งสองยังมีกำลังใจดี

จำเลยทั้งสองคน ทนายได้ไปเยี่ยม 2-3 ครั้ง ที่เรือนจำหลักสี่ ช่วงเดือนรอมฏอน (เมษายน 2564) สภาพจิตใจของพวกเขาค่อนข้างดี เริ่มพูดไทยได้แล้วทนายความชูชาติ กล่าว

ด้าน พ... สมเกียรติ พลอยทับทิม อดีตพนักงานสอบสวนในคดีนี้ กล่าวว่า อุปสรรคเดียวของคดีนี้น่าจะเกี่ยวกับการต้องใช้ล่ามแปล เพราะฝ่ายผู้ต้องหาอยากใช้ล่ามแปลที่เขาไว้ใจ ซึ่งหายาก

นอกจากการดำเนินคดีชาวอุยกูร์สองรายนี้แล้ว ทางการไทยยังได้จับกุมตัว น.. วรรณา สวนสัน หรือ ไมซาเราะห์ ชาวจังหวัดพังงา ซึ่งแต่งงานกับสามี ชาวตุรกี ขณะที่เดินทางกลับมายังประเทศไทยผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2560 โดยถูกตั้งข้อหาร่วมกันมียุทธภัณฑ์และครอบครองวัตถุระเบิด เพราะเช่าห้องให้แก่จำเลยชาวอุยกูร์

โดยเมื่อปลายปี พ.. 2560 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ระบุว่ามีหมายจับจำเลยอย่างน้อย 17 ราย

ช่องแสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็นโดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยอักษรธรรมดา ความเห็นจะได้รับการอนุมัติ ตามเงื่อนไข Terms of Use ความคิดเห็นจะไม่แสดงในทันที อาร์เอฟเอจะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อเนื้อหาในข้อคิดเห็นนั้นๆ กรุณาให้เกียรติต่อความคิดเห็นของบุคคลอื่น และยึดถือข้อเท็จจริง